การปฐมนิเทศก์ จะเป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรและข้อกำหนดที่สำคัญทางด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงานใหม่ ดังนั้นองค์กรควรจะให้ความสนใจต่อการดำเนินกิจกรรมนี้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานใหม่แต่ละคนจะได้รับข้อมูลที่เหมาะสมต่อการสร้างความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
(1) ใครควรเป็นผู้จัดการปฐมนิเทศก์
การปฐมนิเทศก์จะแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ ได้แก่ การให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับองค์กรและความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับความปลอดภัย ซึ่งควรดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยขององค์กร และในส่วนที่สองจะเป็นเรื่องความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่ควรดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชาของพนักงานใหม่ เนื่องจากจะสามารถให้รายละเอียดและชี้ชัดถึงวิธีการทำงานที่เหมาะสมให้พนักงานใหม่ทราบได้อย่างชัดเจน
(2) รายละเอียดหัวข้อเรื่องที่จะทำการปฐมนิเทศก์และฝึกอบรมด้านความปลอดภัย
ก่อนที่จะเริ่มเข้าปฏิบัติงานพนักงานใหม่ทุกคนไม่ว่าจะเป็น พนักงานปฏิบัติการ ผู้บริหารหรือแม้แต่ผู้รับเหมาควรจะได้รับการปฐมนิเทศก์เพื่อให้ข้อมูลในเรื่องต่อไปนี้เป็นอย่างน้อย
- ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริษัทที่กล่าวถึงการจัดองค์กร นโยบายทั่วไป การผลิตและกฏระเบียบทั่วไปขององค์กร
- นโยบายความปลอดภัยขององค์กร
- กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- โปรแกรมการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง
- ปรัชญาในการดำเนินงานความปลอดภัยขององค์กร
- ระบบการบริหารความปลอดภัยขององค์กร
- หน่วยงานด้านความปลอดภัยและให้ความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน
- การประชุมด้านความปลอดภัยและคณะกรรมการต่าง ๆ
- รายละเอียดขั้นตอนการรายงานสอบสวนอุบัติเหตุ
- กฎระเบียบและระเบียบปฏิบัติงานต่าง ๆ
- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(การเบิกจ่ายและใช้งาน)
- ข้อปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน
- ข้อห้ามต่าง ๆ
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ในทางปฏิบัติการให้ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะกำหนดหัวข้อวิชาและผู้รับผิดชอบ ดังนี้
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย รับผิดชอบในการปฐมนิเทศก์หัวข้อต่อไปนี้
- ประวัติความปลอดภัยของโรงงาน
- นโยบายความปลอดภัย
- ความสำคัญของพนักงานกับความปลอดภัย
- ระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัยและการักษาพยาบาลในโรงงาน
- การแบ่งเขตพื้นที่ในโรงงาน
- กองทุนเงินทดแทน
- วิธีรายงานสอบสวนอุบัติเหตุ
- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
- ระบบขออนุญาตต่าง ๆ
- ระบบการให้ข้อมูลอันตราย
- ขั้นตอนการตัดแยกอุปกรณ์
- โครงการความปลอดภัยของบริษัท
- กฎระเบียบด้านความปลอดภัยและรักษาความปลอดภัย
- การป้องกันอัคคีภัยและอุปกรณ์ระงับเหตุ
- แผนควบคุมภาวะฉุกเฉินของโรงงาน
ผู้บังคับบัญชาของพนักงานใหม่ รับผิดชอบในการปฐมนิเทศก์หัวข้อต่อไปนี้
- หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงาน
- อันตรายในพื้นที่ปฏิบัติงาน
- กฎระเบียบด้านความปลอดภัยของหน่วยงาน
- การป้องกันอัคคีภัยของหน่วยงาน
- การรายงานอุบัติเหตุและสภาพความไม่ปลอดภัย
- อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
- คู่มือและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
- การติดต่อสื่อสารภายในหน่วยงาน
- ขั้นตอนการทำงานที่รับผิดชอบ
- การใช้อุปกรณ์เครื่องมืออย่างปลอดภัย
- แนะนำสถานที่และจุดติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ
- การดูแลความสะอาดและเป็นระเบียบในสถานที่ทำงาน
- กิจกรรมความปลอดภัยในหน่วยงาน
วิธีการปฐมนิเทศก์ข้างต้นอาจใช้คู่มือสรุปรายละเอียดที่พูดและมอบให้พนักงานไว้ศึกษาและทบทวนได้ตลอดเวลา
ข้อควรระวังในการจัดการปฐมนิเทศก์
การปฐมนิเทศก์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้พนักงานมีความเข้าใจในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองและวิธีการทำงานที่เหมาะสม ในทางตรงกันข้ามหากการดำเนินการดังกล่าวขาดประสิทธิภาพก็จะเกิดปัญหาด้านการปฏิบัติงานและความปลอดภัยตามมาอย่างมากมาย ดังนั้น ผู้รับผิดชอบในการจัดปฐมนิเทศก์จะต้องตระหนักถึงผลเสียดังกล่าวและปรับปรุงการดำเนินการให้มีประสิทธภาพอยู่เสมอ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดำเนินการต่อไปนี้
(3.1) ต้อนรับด้วยเอกสาร(An emphasis on paper) กล่าวคือให้พนักงานเซ็นสัญญาจ้างเสร็จก็จะมอบคู่มือพนักงานโดยไม่มีการชี้แจงรายละเอียดใด ๆ ของบริษัท หรือข้อมูลทั่วไปที่จำเป็นต่อการทำงาน แล้วส่งพนักงานเข้าทำงานทันที
- ต้อนรับฉบับย่อ (A sketchy overview of the basis) จะชี้แจงภาพรวมกว้าง ๆ อย่างรวดเร็วแล้วส่งพนักงานปฏิบัติงานในสภาพคลุมเครือ
- มอบหมายสไตล์มิคกี้เม้าท์ (Micky mouse assignment) วิธีการนี้จะมอบหมายให้พนักงานเข้าไปทำงานและศึกษาวิธีการจากเพื่อนร่วมงานเองโดยไม่มีการสอนงาน
- รับจนล้น(Suffocation) คือ การให้ข้อมูลมากเกินไปในระยะเวลาอันสั้น ทำให้พนักงานรับข้อมูลไม่ทันจนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายและขาดความสนใจ