การใช้รถยก (Fork Lift)

การใช้รถยก (Fork Lift)
 

หลักสำคัญ 3ประการที่ต้องปฏิบัติ  คือ

       - รถยกต้องอยู่ในสภาพที่ดี  พร้อมใช้งานและได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง
       - ผู้ขับขี่รถยกจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ซึ่งผ่านการฝึกอบรมมีใบอนุญาตขับขี่และได้รับการมอบหมายให้ขับขี่โดยเฉพาะเท่านั้น
       - ผู้ขับขี่ต้องมีความตื่นตัวตลอดเวลาที่จะหลีกเลี่ยงการเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับตนเองและเพื่อนร่วมงาน 

ผู้ขับขี่รถยก

       - ผู้ขับขี่รถยกจะต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ซึ่งผ่านการฝึกอบรมมีใบอนุญาตขับขี่โดยเฉพาะเท่านั้น 
       - ต้องแน่ใจว่ารถยกได้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่เหมาะสม 
       - ก่อนและหลังการยกงาขึ้น/ลง ต้องให้สัญญาณและเตือนผู้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง 
       - ห้ามยืน เดิน หรือทำงานใต้งารถยกที่กำลังทำงาน 
       - บรรทุกวัสดุตามพิกัดที่กำหนด 
       - หากมีเหตุขัดข้องระหว่างการทำงาน ห้ามเข้าใต้งา  หรือพยายามที่จะทำการซ่อมแซมหรือกระทำการใด ๆ ทั้งสิ้น 

ข้อปฏิบัติในการขับขี่

       - ก่อนเคลื่อนรถยกออกไป ต้องสำรวจว่าบริเวณใกล้เคียงมีสิ่งกีดขวางหรือไม่ 
       - ตรวจสอบรถยกทุกวัน หากมีจุดผิดปกติให้รายงานผู้รับผิดชอบ ห้ามใช้รถยกที่มีลักษณะไม่ปลอดภัย 
       - รีบรายงานอุบัติเหตุ หรือเหตุผิดปกติให้ผู้รับผิดชอบทราบทันทีเพื่อสามารถตรวจสอบสาเหตุได้ทันที 
       - ตรวจสอบความเรียบร้อยของแบตเตอรี่ ถังน้ำมันและฝาปิด ก่อนสตาร์ทเครื่อง หรือเริ่มทำงาน 
       - ควบคุมความเร็วรถให้สามารถที่จะหยุดได้กะทันหัน 
       - บีบแตรให้สัญญาณขณะขับรถในมุมอับ 
       - สอดงาใต้วัสดุที่บรรทุกให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขณะขับเครื่องจะต้องให้วัสดุพิงพนักพิงวัสดุ และกางงาออกให้พอดีกับน้ำหนัก (บรรทุก) วัสดุ 
       - ห้ามใช้ชั้นวางที่ชำรุดในการยก 
       - การเคลื่อนรถออกทุกครั้งต้องยกงาสูงกว่าพื้นประมาณ 6 – 8 นิ้ว  เสมอ 
       - ขณะรถวิ่ง ให้ยกวัสดุในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ 
       - ขับรถให้ความเร็วรถพอเหมาะกับสภาพพื้นผิวถนน น้ำหนักบรรทุก และสภาพของบริเวณทีทำงาน 
       - หากวัสดุที่บรรทุกสูงจนมองไม่เห็นทางข้างหน้า ให้ขับรถถอยหลังไปแทน 
       - ห้ามขนย้ายวัสดุที่จัดตั้งไม่เป็นระเบียบ 
       - ตรวจสอบสิ่งกีดขวางเหนือศรีษะทุกครั้งที่จะขนย้ายวัสดุ 
       - ห้ามออกรถเร็ว หยุดกระทันหัน หรือเลี้ยวฉับพลัน โดยเฉพาะในขณะที่กำลังบรรทุกวัสดุ 
       - เว้นระยะห่างจากยานพาหนะคันอื่นประมาณ 3 ช่วงคันรถ(นับจากปลายงายกเข้ามา) 
       - ห้ามแซงซึ่งกันและกันในบริเวณที่อันตราย เช่น  มุมอับ ทางแยก ฯ 
       - ต้องคำนึงถึงความสูง  ความกว้างของรถเสมอ  และระวังคนเนเท้าโผล่ออกมาจากมุมอับ 
       - บีบแตรให้สัญญาณและขับรถช้า ๆ เมื่อเข้าใกล้ทางเดินประตู ทางเข้า และรถยกคันอื่น 
       - ระมัดระวังเมื่อเข้าใกล้ทางเดินเท้า หลีกเลี่ยงการขับรถยกเข้าใกล้คนยืนอยู่ริมรั้วหรือริมถนน 
       - ลดความเร็วลงเมื่อเข้าใกล้บริเวณมุมอับที่จะมองไม่ถนัด เช่น มุมประตู หรือขับรถชิดซ้ายไว้จนกว่าจะแน่ใจ 
       - ห้ามขับแซงรถยกคันอื่นที่ไปทางเดียวกันในบริเวณทางแยก จุดอับ หรือบริเวณที่อันตราย 
       - ห้ามขับรถทับสิ่งของที่ตกอยู่บนพื้น 
       - รู้ตำแหน่งของล้อรถยกกับปลายงายกหรือสุดขอบของวัสดุที่จะยกให้ระมัดระวังในขณะกระดกปลายงาก่อนยก 
       - ห้ามจับพวงมาลัย หรือขับขี่ขณะมือหรือถุงมือเปื้อนน้ำมันหรือลื่น 
       - ตีเส้นสีเหลืองแสดงช่องเดินรถและบริเวณที่ทำงาน 
       - ติดตั้งกระจก และหรือ ป้ายสัญญาณหยุด ในบริเวณประตู ทางเดิน หรือสถานที่ทำงานที่เป็นจุดอันตราย บีบแตรให้  สัญญาณทุกครั้งที่เข้าใกล้บริเวณดังกล่าว 
       - ปลดเกียร์ว่าง ใส่เบรค ลดงาให้อยู่ในระดับต่ำสุดและดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่จอดหลังใช้งาน 
       - ห้ามผู้โดยสารบนรถ 
       - ดูกระจกเงาสะท้อนมุมถนน เมื่อถึงบริเวณถนนหักมุมและพร้อมที่จะหยุดหากมีเรื่องกระทันหัน และบีบแตรให้ สัญญาณทุกครั้ง 

การเติมน้ำมันเชื้อเพลิง

       - ดับเครื่องก่อนเติมน้ำมันในบริเวณที่กำหนดทุกครั้ง
       - ตรวจการปิดฝาถังน้ำมันให้เรียบร้อยหลังเติมน้ำมัน  และทำความสะอาดเมื่อน้ำมันหกก่อนการติดเครื่อง
       - ภาชนะบรรจุน้ำมันต้องติดฉลากให้ชัดเจน
       - อุปกรณ์ดับเพลิงต้องติดไว้ที่บริเวณที่เติมน้ำมันและเตรียมพร้อมเสมอที่จะนำมาใช้งาน