CPR การช่วยผู้ที่กำลังจะตาย ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

CPR การช่วยผู้ที่กำลังจะตาย ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
 

        CPR มาจากคำเต็มว่า CARDIO-PULMONARY RESUSCITATION คำว่า CARDIO หมายถึง หัวใจ PUL-MONARY หมายถึง ปอด และ RESUS-CITATION หมายถึง การทำให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมา

        การทำ CPR เป็นการผสมผสานกันระหว่างการผายปอดเพื่อช่วยเพิ่มออกซิเจนเข้าไปในปอดและการกดบริเวณหน้าอกข้างซ้าย (ตำแหน่งหัวใจ) เพื่อให้หัวใจทำการหมุนเวียนเลือดที่มีออกซิเจน

        การทำ CPR เป็นการช่วยชีวิตที่จะให้ผลลัพธ์ดีที่สุดก็ต่อเมื่อผู้ทำการช่วยชีวิตผ่านการฝึกฝนมาแล้ว เพราะหากทำโดยไม่มีความรู้และไม่ผ่านการฝึกฝนมาก่อนจะก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือได้ เช่น กระดูกหักหรือหัวใจช้ำเพราะกดแรงไป ไม่นำเศษอาหารออกก่อนผายปอดทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ เป็นต้น

การช่วยชีวิตด้วยวิธี CPR จะใช้เมื่อ

- ไม่หายใจ
- ชีพจรหยุดเต้น
- ผู้ป่วยไม่ได้สติ

        ดังนั้นหากไม่เข้าหลักเกณฑ์ทั้ง 3 ประการ ก็ยังไม่มีความจำเป็นต้องทำ CPR เพราะจะก่อให้เกิดผลเสีย มากกว่าผลดีทการกดหน้าอกในขณะที่หัวใจของผู้ประสบอุบัติเหตุยังเต้นอยู่เป็นสาเหตุให้หัวใจหยุดเต้นได้ และถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังไม่ควรขยับศรีษะหรือคอของผู้บาดเจ็บ

ขั้นตอนการทำ CPR

        1. ตรวจสอบผู้บาดเจ็บว่ามีสติหรือไม่ด้วยการสัมผัสผู้ป่วย หรือเขย่าเบาๆ ตะโกนถามว่า ”คุณเป็นไงบ้าง” ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้ตะโกนขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ในบริเวณนั้น ติดต่อเรียกรถฉุกเฉินทันที ถ้าไม่มีใครให้ใช้โทรศัพท์ติดต่อโดยด่วน

        2. จัดท่านอนผู้บาดเจ็บให้นอนหงายบนพื้น ลำตัวตรง (ระวังศรีษะและคอของผู้บาดเจ็บด้วย)

        3. คลายเสื้อผ้าผู้บาดเจ็บถ้าจำเป็น (เพื่อสังเกตุการเคลื่อนไหวของหัวใจบริเวณหน้าอก และนวดหัวใจ)

        4. เอาหูแนบบริเวณปากของผู้บาดเจ็บเพื่อฟังเสียงลมหายใจ พร้อมกันนั้นก็สังเกตุการเคลื่อนไหวที่บริเวณหน้าอกผู้บาดเจ็บไปด้วย 5 วินาที

        5. หากผู้บาดเจ็บไม่หายใจให้เริ่มต้นช่วยทำการหายใจด้วยการเงยศีรษะผู้บาดเจ็บเล็กน้อย ใช้มือล้วงหาเศษอาหารหรือฟันปลอมออกให้หมด จากนั้นปิดจมูกของผู้บาดเจ็บด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้ง ใช้ปากประกบปากผู้ที่ต้องการการช่วยเหลือ แล้วเป่าลมช้าๆเข้าไปให้เต็มลมหายใจ 2 ครั้ง (หยุดระหว่างครั้ง เล็กน้อย)

        6. ถ้าบริเวณหน้าอกผู้บาดเจ็บไม่ขยับขึ้น ให้จัดศัรษะใหม่ แล้วเป่าปากอีก 2 ครั้ง ถ้าบริเวณหน้าอกยังไม่ขยับ แสดงว่ามีการอุดตันของทางเดินหายใจ (ให้ล้วงสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด)

        7. ถ้าหน้าอกขยับ ให้วางนิ้วสองนิ้วที่ลำคอของผู้บาดเจ็บ (ข้างลูกกระเดือก) เพื่อตรวจสอบชีพจร 5-10 วินาที

        8. ถ้าชีพจรเต้นครั้งแรก ให้เป่าปาก 1 ครั้ง ทุก 5 วินาที, ตรวจสอบชีพจร 1 ครั้ง เมื่อเป่าปากถึง 12 ครั้ง

       9. ถ้าผู้ประสบเหตุยังไม่มีชีพจร ให้เริ่มทำการปั๊มหัวใจ โดยวางส้นมือที่หน้าอกข้างซ้าย (ห่างจากบริเวณกระดูกซีโครงตรงกลางหน้าอก ชิ้นล่างสุด ประมาณ 2 นิ้ว) วางส้นมือของมืออีกข้างทับมือที่วางอยู่บริเวณอกผู้บาดเจ็บ กำนิ้วเข้าด้วยกันให้แน่น ตั้งข้อศอกให้ตรง ให้ไหล่อยู่ตรงกับมือที่ที่จะปั๊มหัวใจ ออกแรงกดลงไปที่หน้าอก ให้ลึกประมาณ 2 นิ้ว ทำซ้ำ 15 ครั้ง (การกดหน้าอก เพื่อปั๊มหัวใจต้องทำอย่างนุ่มนวล เป็นจังหวะ และทำติดกันกันโดยไม่หยุด)

        10. ผายปอดผู้บาดเจ็บ 2 ครั้ง และปั๊มหัวใจ 15 ครั้ง ทำซ้ำเช่นนี้ 4 รอบ นับดังๆระหว่างที่ปั๊มหัวใจ อัตราความเร็วในการปั๊มหัวใจควรอยู่ที่ 80-100 ครั้ง ต่อนาที (นับทุกครั้งที่ปั๊มเป็นจังหวะดังนี้  “1 และ 2 และ 3 และ 4 และ 5……11 ,12 ,13 ,14 ,15″)

        11. ตรวจสอบการเต้นของชีพจร 5-10 วินาที

        12. ทำซ้ำ ตามขั้นตอนที่ 11 และ 12 จนกระทั่งชีพจรกลับมาเต้น และถ้าชีพจรกลับมาเต้น ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ 9

        13. เมื่อชีพจร และการหายใจเข้าสู่ภาวะปกติ ให้รอการช่วยเหลือ เพือนำส่งโรงพยาบาล ระมัดระวังการเคลื่อนย้ายในกรณีที่มีการบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง

ที่มา : http://www.thaisafetywork.com/