การจัดวงรอบซ่อมบำรุง
วงรอบซ่อมบำรุง คือ กำหนดวงรอบของกิจกรรมงานซ่อมบำรุงขนาดต่าง ๆ อย่างครบถ้วนตลอด ช่วง เวลาหนึ่ง ของเครื่องจักร กลแต่ละ เครื่อง ถือเป็นส่วนหนึ่ง ของงานซ่อมบำรุงแบบป้องกัน การจัดวง รอบ ซ่อมบำรุง ช่วยในการบริหารกำลังคน กำลังเงิน และวัสดุอุปกรณ์ การ ใช้งานต่าง ๆให้มีประสิทธิภาพ มากที่สุด
องค์ประกอบของวงรอบซ่อมบำรุงได้แก่ กิจกรรมซ่อมบำรุง และช่วงเวลาห่างกันของแต่ละกิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การซ่อมแซมย่อย
2. การซ่อมแซมขนาดกลาง
3. การซ่อมแซมขนาดใหญ่
หน่วยวัดที่ใช้แบ่งระดับการซ่อมแซมนั้นคือ หน่วยจำนวนชั่วโมงคนงาน และชั่วโมงเครื่องจักร ที่งานซ่อมแต่ละ ระดับต้องใช้
ระดับ ซ่อมบำรุง |
จำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ต่อ 1 R |
|||
ชั่วโมงคนงาน |
ชั่วโมงเครื่อง |
รวม |
||
การซ่อมแซมย่อย |
4 |
2 |
6 |
|
การซ่อมแซมขนาดกลาง |
10 |
7 |
17 |
|
การซ่อมแซมขนาดใหญ่ |
26 |
10 |
36 |
ตาราง แสดงจำนวนชั่วโมงคนงานและชั่วโมงเครื่องจักรที่ต้องใช้ของงานซ่อมบำรุงแต่ละระดับ
ค่า 1 R หมายถึง 1 หน่วย R โดยค่า R คือ ค่าสัมประสิทธิ์ความซับซ้อนในการซ่อม โดยถือว่าการซ่อมเครื่อง กลึงขนาด แบบธรรมดามีค่า Rเท่ากับ 10 สำหรับเครื่องตัวอื่น ๆ นั้น มีค่า R ดังต่อไปนี้
ลำดับ | เครื่องจักรกล | Complezity Coefficient R |
---|---|---|
1 |
เครื่องกลึงขนาดกลาง |
9-13 |
2 |
เครื่องกลึงขนาดใหญ่ |
17-19 |
3 |
แท่นสว่านเจาะแนวตั้ง |
3-8 |
4 |
เครื่องสว่านเจาะแนว radial |
6-12 |
5 |
Open Side Jig borers |
20-35 |
6 |
Horizontal borers ขนาดกลาง |
16-18 |
7 |
เครื่องเจียรนัยกลม |
10-15 |
8 |
เครื่องกัดเฟืองขนาดกลาง |
10-12 |
9 |
เครื่องกัดเพลานอน |
8-14 |
10 |
เครื่องไสขนาดกลาง |
12-15 |
ค่า R นี้ ของเครื่องจักรอื่น ๆ สามารถหาได้จากสถิติการซ่อมที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับค่าที่มีอยู่แล้วเดิม
การเขียนวงรอบซ่อมบำรุง
กำหนดให้
S แทน งานซ่อมขนาดย่อย ( Small Repair )
M แทน งานซ่อมขนาดกลาง ( Medium Repair )
L แทน งานซ่อมขนาดใหญ่ ( Large Repair )
สำหรับในงาน ซ่อมบำรุง นิยมใช้ ในงาน Machine Shop เป็นดังนี้
S – S – M – S – S – M – S – S – L
สามารถวนกันได้ หมายความว่าจากจุดเริ่มต้นของวงรอบ คิดหลังจากการซ่อมใหญ่ หรือการเริ่มต้นเดิน เครื่องจักรใหม่ มีการซ่อมย่อย 2 ครั้ง แล้วซ่อมขนาดกลางอีก 1 ครั้ง ซ่อมแซมย่อย 2 ครั้ง ซ่อมแซม ขนาดกลางอีก 1 ครั้ง ก่อนจะถึงคราวซ่อมแซมใหญ่ครั้งหนึ่ง จากนั้นก็เริ่มวงรอบใหม่ในงานซ่อมอื่น ๆ อาจจะเป็น SS-M-SSS-L-SSS-M-Sหรือเป็นแบบอื่นใดแล้วแต่ความเหมาะสมของโรงงาน
การป้องกันอุบัติเหตุในงานซ่อมบำรุง
โรงงานควรปฏิบัติดังนี้
1. ต้องเปลี่ยนทัศนคติต่อความปลอดภัยและอุบัติเหตุในงานซ่อมบำรุงเสียใหม่ ตั้งแต่ระดับผู้จัดการลงไป โดยต้องยอม รับว่าอุบัติเหตุในโรงงานซึ่งเกิดขึ้นในขณะซ่อมบำรุง หรือเนื่องจากการซ่อม บำรุงนั้น เป็น ตัวบ่งชี้ว่าได้ เกิดความ บกพร่อง ในการบริหารงานซ่อมบำรุงขึ้นแล้ว การ สร้าง ความปลอดภัย เป็นหน้า ที่และความรับผิดชอบโดยตรง ของ ผู้บริหารงานซ่อมบำรุง ร่วมกับผู้บริหารในฝ่ายการผลิต
2. ต้องออกนโยบายคำสั่ง หรือประกาศว่าด้วยมาตรฐานการทำงาน ด้านซ่อมบำรุงอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
3. ต้องมีการทำความเข้าใจกันเป็นอย่างดีในระหว่างการผลิตกับการซ่อมบำรุงโดยเฉพาะการเข้าใจในหลักการอำนาจ และความรับผิดชอบของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดต่อสื่อสาร
4. ต้องมีการจัดทำแผนงานระยะยาวของโครงการ การซ่อมบำรุงแบบป้องกัน ในระดับโรงงานขึ้น
5. ต้องพยายามเปลี่ยน สถานภาพจากการซ่อมบำรุงแบบไล่ตาม ไปเป็น การซ่อมบำรุงแบบป้องกัน โดย เร็ว
6. ต้องศึกษาข้อมูลทางเทคนิค ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีการใช้งานอยู่แล้ว จัดทำมาตรฐาน การ ใช้งานและ การซ่อมบำรุง พร้อมกับคัดเลือกข้อห้าม หรือข้อควรระวังในด้านความปลอดภัย จัดทำเป็น แผ่นป้าย โลหะ หรือ พลาสติก ติดตั้งไว้ ที่จุดที่เกิดอันตรายต่าง ๆ
7. ต้องกำหนดเขตต่าง ๆในโรงงาน แล้วแบ่งเป็น เขตหวงห้าม เขตควบคุม เขตทั่วไป หรือชื่ออื่น ๆตาม ความ เหมาะสม ในกรณีที่ พนักงานในฝ่ายซ่อมบำรุง มีจำนวนมาก มีอายุงาน ตลอดจนประสบการณ์ และความชำนาญ เฉพาะด้านที่แตกต่างกัน ต้องมีการจัดแบ่งเกรด หรือจัดกรุ๊ปช่างซ่อมบำรุง แล้วแบ่งเขตงานรับผิดชอบ ให้ชัดเจน พนักงานใหม่ต้องได้รับการอบรมอย่างเพียงพอ และในการเข้าทำงาน
8. ต้องมีหัวหน้าที่ชำนาญคอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา