การจัดสภาพโรงงานให้ปลอดภัย
(ENVIRONMENT AND PLANT LAYOUT)
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับผังโรงงาน
- ทางเดินกว้างขวางเพียงพอ
- การระบายอากาศและการขจัดกลิ่นควันและไอพิษ
- ทางออกฉุกเฉินทางหนีไฟ
- ระบบป้องกันอัคคีภัยและอุปกรณ์ดับเพลิง
- ความดังของเสียงจากเครื่องจักรกล
- ความร้อนจากเครื่องจักรกล หรือ แหล่งความร้อน
- แสงสว่างที่เหมาะสม
- การป้องกันระบบไฟฟ้าที่เหมาะสม
- เนื้อที่อำนวยความสะดวกแก่แก่งานซ่อมบำรุง
- สภาพแวดล้อมทางความรู้สึกของคนงาน
ข้อแนะนำในการพิจารณาวางผังโรงงานเครื่องจักรกล
- จัดวางเครื่องจักรกลให้ไกล้แหล่งแสงสว่างธรรมชาติ
- จัดเครื่องจักรกลที่มีขนาดใหญ่ไว้ใกล้ทางเข้าออ
- จัดเครื่องจักรขนาดใหญ่ไว้ในที่ที่รอก หรือ เครนเข้าไปถึงเพื่อสะดวกต่อการทำงาน
- จัดเครื่องเจียรไน ในที่ที่ฝุ่น หรือ ประกายไฟไม่แผ่ขยายไปถึง และควรตั้งใกล้ เครื่องกลึง เครื่องเจาะ
- จัดวางเครื่องมือ อุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ รวมทั้งชิ้นส่วนไว้ใกล้เครื่องจักรแต่ละเครื่อง
- แท่นเลื่อยไฟฟ้าควรเก็บไว้หน้าสโตร์เก็บเหล็กเส้นควรมีที่ว่างมากพอกับการขนย้ายเหล็กท่อนที่มีความ ยาว มากกว่า 6เมตร
- เครื่องจักรต้องมั่นคงและยึดแน่นกับพื้น
- สวิตช์ควบคุมการทำงานควรอยู่ในที่ที่ปลอดภัยจากการยืนพิงหรือ กวาดมือไปสัมผัสโดยบังเอิญ สวิตช์ เมนใหญ่ที่ตัดไฟจากสายเมน ควรติดตั้งในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน
- สายไฟที่ต่อมา จากเหนือศีรษะเพื่อลงยังแท่นเครื่องต้องทิ้งระยะห่างอย่างน้อย 7 ฟุต ก่อนหักมุม เพื่อ เดิน ใน แนวระดับ
- โต๊ะปฏิบัติงานตะไบควรจัดวางไว้ให้สามารถจับชิ้นงานยาว ๆได้ โดยไม่ขัดขวางการทำงานของคนอื่น
- บริเวณใต้โต๊ะควรปล่อยว่างโล่งไม่ควรเป็นที่จัดเก็บเศษวัสดุเศษชิ้นงานที่ไม่ใช้แล้ว
- จัดวางเครื่องจักรดังนี้
- รถยก หรือ รถเข็นสามารถเข้าใกล้ด้านใดด้านหนึ่งได้ เพื่อประโยชน์ในการขนถ่ายชิ้นส่วนงานซ่อมบำรุง
- มีช่องว่าง รอบ ๆตัวเครื่องเพียงพอ สำหรับการถอดซ่อมบำรุงต่าง ๆ
- มีที่ว่างให้คนงานได้ทำงานสะดวกสบาย
- มีช่องว่างที่เพียงพอต่อการเคลื่อนที่ของชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่เคลื่อนตัวไปถึง
รายละเอียดสำคัญ | ชาย | หญิง |
---|---|---|
ความสูงของที่นั่งวัดจากพื้น |
45.4 |
37.4 |
ช่วงกว้างองที่นั่ง |
46.8 |
37.4 |
ความสูงของหัวเข่าวัดจากพื้น |
52.2 |
47.1 |
ช่วงหัวไหล่จนถึงที่เท้าแขน |
36.3 |
33.7 |
ความยาวปลายนิ้วมือถึงปลายข้อศอก |
47.5 |
43.8 |
ขนาดเสนอแนะสำหรับทางเดิน
- ทำให้ทางเดินทุกแนวเป็นเส้นตรง
- ระดับของทางเดินควรเท่ากันและเรียบ ในกรณีต่างระดับควรเชื่อมกันและเรียบ
- ทำให้ทางเดินอยู่ตรงกลางใช้ได้ทั้งสองข้างของทางเดิน
- ทำให้ทางเดินที่พบกันข้ามกันเป็นมุมฉาก
- ทำให้มีความกว้างเหมาะสม
- ทำให้ทางเดินมีขนาดความกว้างหลายขนาดตามปริมาณการใช้งาน
ขนาดออกแบบมาตรฐานของบริเวณทำงาน
ลักษณะงาน |
ขนาดของโต๊ะทำงาน |
||
นั่งทำงาน | นั่งสลับยืน | ยืนทำงาน | |
พื้นที่ซึ่งมือทำงานไปถึงจากรัศมีไหล่ | 15 | 15 | 18 |
พื้นที่ทำงานสูงสุดโดยไม่เกิดความล้าจนเกินไป รัศมีในแนวระดับวัดจากข้อศอก | 24 | 30 | 40 |
รัศมีในแนวดิ่งวัดจากข้อศอก | 24 | 34 | 56 |
ระยะห่างระหว่างคนงาน | 30 | 30-36 | 36 |
ความสูงของโต๊ะทำงานสำหรับหญิง | 28-30 | 36-38 | 38 |
ความสูงของโต๊ะทำงานสำหรับชาย | 30 | 40-42 | 42 |
ความสูงของม้านั่งวัดจากพื้น | 18 | 28 | - |
ที่เหยียบด้วยเท้าวัดจากพื้น | 1-2 | 8 | 1-2 |
ที่วางเท้าวัดจากพื้น สำหรับหญิง | 1-2 | 10 | 1-2 |
ที่วางเท้าวัดจากพื้น สำหรับชาย | 1-2 | 8 | 1-2 |
ระดับสายตาวัดจากพื้นชาย | 46 | 56 | 64 |
ระดับสายตาวัดจากพื้นหญิง | 44 | 53 | 50 |
ความลึกของตู๊เก็บของระดับสายตา ชาย | - | - | 26 |
ความลึกของตู๊เก็บของระดับสายตา หญิง | - | - | 22 |
ขนาดความกว้างของทาเดินในโรงงานขึ้นอยู่กับ
- ชนิดของสิ่งที่ขนส่งผ่าน อาทิ คน รถเข็น รถลาก วัสดุ หรือเครื่องจักรกล
- ความถี่ในการใช้งาน ปริมาณการขนส่งที่ผ่านเส้นทางนั้น
- ความเร็วในการขนส่ง
- แบบของการจราจรเดินทางเดียว หรือเดิน สอง ทางแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงในอนาคต
เสนอแนะขนาดความกว้างทางเดินในโรงงาน
ลักษณะการใช้งาน | ขนาดความกว้าง |
---|---|
คนเดินมือเปล่าสองคนสวนกันได้ | ไม่ต่ำกว่า 30 นิ้ว |
สำหรับรถเข็น 2 ล้อเดินทางเดียว | ไม่ต่ำกว่า 30 นิ้ว |
สำหรับรถเข็น 4 ล้อ ในการขนส่งวัสดุคันเดียว | ความกว้างตัวรถ + 20นิ้ว |
สำหรับรถเข็น 4 ล้อ ในการขนส่งวัสดุสวนทางได้ | ความกว้างตัวรถทั้ง2คัน + 36 นิ้ว |
รถลากด้วยแรงคนที่มีแผ่นรองวัสดุ | 5 - 8 ฟุต |
รถโฟล์คลิฟท์ขนาด 1 ตัน | 8 - 10 ฟุต |
รถโฟล์คลิฟท์ขนาด 2 ตัน | 10 - 12 ฟุต |
รถโฟล์คลิฟท์ขนาด 3 ตัน | 12 - 14 ฟุต |
ขนาดสำหรับทางลาดและบันไดที่เหมาะสม มุมลาดเอียงมีค่าที่เหมาะสมดังนี้
- ทางลาด 0 - 15 ํ กับพื้นระดับ
- บันไดถาวร 30 -35 ํ กับพื้นระดับ
- บันไดพาด 75 -90 ํ กับพื้นระดับ
นอกจากนี้แล้ว ยังมีค่าที่ควรหลีกเลี่ยงดังนี้
- สำหรับบันไดพาด ไม่ควรทำมุมกับแนวระดับน้อยกว่า 50 ํ
- สำหรับพื้นลาด ไม่ควรทำมุมกับแนวระดับมากกว่า 20 ํ
การออกแบบระบบแสงสว่าง
หลอดไฟฟ้าที่ให้แสงสว่าง มี 3 ชนิด
- หลอดใช้ไส้ (Incandescent Lamp) เป็นไส้หลอดทังเสตน มี 2 แบบกระเปาะแก้วใสและ กระเปาะแก้วสีขาว และสีต่าง ๆ ประสิทธิภาพต่ำกว่าหลอดแก้วใส มีอายุการใช้งานทั่วไป 1000 ชั่วโมงยกเว้นบางชนิด เช่น หลอด Quartz Iodine มีอายุ 2000 ชั่วโมง ยังจำแนกได้อีกหลายชนิด
- หลอดใช้สารเรืองแสง (Fluorescent Lamp) อาศัยการเรืองแสงของสารที่ฉาบไว้รอบ ๆผิว ในของหลอด แก้วห่อ หุ้ม ซึ่งเมื่อกระทบกับรังสีอุลตราไวโอเลตจาก ไอปรอทภายในแก้ว จะเรืองแสงออกมามีสีขาว หรือ ใกล้เคียง กับแสงแดด มีประสิทธิภาพดีกว่าหลอดใช้ไส้ ถึง 4 เท่า อายุการใช้งานดีกว่าถึง 10 เท่า เหมาะจะ ใช้ในบริเวณกว้าง
- หลอดไอโลหะ (Mercury or Sodium Lamp) ปัจจุบันนิยมใช้กันมากลักษณะคล้ายหลอดฟูออเรสเซ็นต์ แต่ทำงานที่ความดันสูงกว่าให้แสงสว่างมากกว่า สีจะเป็นสีเหลือง หรือเขียวขาดสีแดง ปัจจุบันได้ปรับปรุงโดย การเติม สารที่ทำให้ สีที่ขาดเปล่งออกมาให้ครบ
กรณีวิเคราะห์การออกแบบระบบแสงสว่าง
1. แสงกระจายและเกิดเงา มีสาเหตุมาจาก
- ใช้ไฟแบบหลอกมีไส้มาให้แสงสว่างทั่วไป ทำให้สิ้นเปลือง
- ตำแหน่งจัดวางทำให้เกิดเงาบังบนชิ้นงาน
ข้อแก้ไข - ใช้หลอดฟูออเรสเซ็นต์ / ใช้โคมไฟติดตั้วเฉพาะจุด
2. เกิดแสงกระจายเข้าตา มีสาเหตุมาจาก
- ใช้หลอดไฟกลมให้แสงสว่าง โดยไม่มีโคมไฟกั้น ทำให้แสงเข้าตาคน
ข้อแก้ไข - เลือกใช้หลอดฟูออเรสเซ็นท์ ชนิดที่เป็นโคมไฟชุดละ 2 หลอดให้แสงสว่างแทน
3. เกิดเงาบัง มีสาเหตุจาก
- วางหลอดในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมเกิดเงาบัง เกิดความผิดพลาดในการทำงาน สายตาเมื่อยล้าง่าย
ข้อแก้ไข - เปลี่ยนโคมไฟใหม่ให้มีแสงสว่างกระจายในรัศมีกว้าง และวางเหนือศรีษะ
4. เกิดความแตกต่างมาก มีสาเหตุมาจาก
- บริเวณรอบ ๆชิ้นงานเกิดความแตกต่างกับชิ้นงาน มีผลต่อการรับแสงของประสาทตา มีสาเหตุมาจาก
ข้อแก้ไข - เลือกใช้สีให้เข้ากับชิ้นงานในบริเวณรอบ ๆชิ้นงาน
5. เกิดเงาสะท้อนและแสงจ้า มีสาเหตุมาจาก
- วางตำแหน่งของหลอดไฟ และ โคมไฟไม่เหมาะสม แสงสว่างจ้า กระจายสูงเกินไป
ข้อแก้ไข - เปลี่ยนเป็นชนิดซ่อนหลอดไฟ ควรเป็นโคม 2 ชั้น เพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสโดน โคม ชั้นนอกที่ร้อน
การออกแบบระบบระบายอากาศ
พฤติกรรมของปอดและหัวใจ ของคนงานที่ทำงานลักษณะต่าง ๆ
สภาพการทำงาน | ออกซิเจนที่ต้องการ ลิตร / นาที | ปริมาณลมที่ผ่านปอด ลิตร / นาที | % ออกซิเจนที่ดูดซึม | อัตราหัวใจเต้น ครั้ง / นาที |
---|---|---|---|---|
พักผ่อน | 0.25 - 0.3 | 6 - 7 | 20 | 60 - 70 |
ทำงานเบาๆ | 0.5 - 1.0 | 11 - 12 | 22 | 70 - 100 |
ทำงานหนักปานกลาง | 1.0 - 1.5 | 20 - 31 | 23 | 100 - 125 |
ทำงานหนัก | 1.5 - 2.0 | 31 - 43 | 23 | 125 - 150 |
ทำงานหนักมาก | 2.0 - 2.5 | 43 - 56 | 22 | 150 - 175 |
เล่นกีฬาที่หนัก ๆ | 2.5 - 4.0 | 60 - 100 | 20 | เกินกว่า 175 |
ค่าความเป็นพิษของสาร
ค่าความเป็นพิษ |
ค่า TLV |
|
ppm | mg./ ลูกบาศก์เมตร | |
1. เป็นพิษเล็กน้อย | เกิน 500 | เกิน 0.5 |
2. เป็นพิษปานกลาง | 101 - 500 | 0.001- 0.5 |
3. เป็นพิษมาก | 0 - 101 | 0 - 0.001 |