องค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมในการระงับเหตุฉุกเฉิน

องค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมในการระงับเหตุฉุกเฉิน
 

การบำรุงรักษาทีม

- การสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในทีม
- การสร้างความมั่นใจในการสื่อสารเป็นกลุ่ม
- การฝึกอบรม
- วินัย / การตั้งมาตรฐาน
- การยกย่องชมเชยและการสร้างแรงบันดาลใจ
- การแต่งตั้งรองหัวหน้า

การทำงานเป็นทีมคืออะไร ?

- อะไรที่สร้างความแตกต่างระหว่างทีมที่ประสบความสำเร็จกับทีมธรรมดา ๆ ทั่ว ๆ ไป
- เราจะรวบรวมกลุ่มคนที่มีระเบียบวินัยต่างันเพื่อรวมเอาความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้อย่างไร

การทำงานเป็นทีม

- เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทีมต้องทำงานร่วมกันในฐานะของหน่วยเดียวกันและทำงานด้วยความสามัคคี
- เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ทีมต้องฝึกฝนร่วมกันเป็นประจำเพื่อที่ว่าจะได้สามารถรับมือกับคำสั่งอันเข้มงวดในสถานการณ์ฉุกเฉินได้
- การปล่อยปละละเลยไม่ฝึกอบรม อาจทำให้ชีวิตของเพื่อนร่วมงานตกอยู่ในอันตรายได้

สมาชิกในทีมแต่ละคนจำเป็นต้องตระหนักถึงคำสั่งที่มอบหมายให้ในเรื่องดังต่อไปนี้

1 องค์ประกอบของการทำงานเป็นทีม

- วินัย
- ความเชื่อมั่น
- ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในทีม
- ทักษะ
- การฝึกอบรม
- ความปลอดภัย
- ความเป็นผู้นำ
- สภาพร่างกาย
- ตัวบุคคล

2 วินัย

- ยอมรับในอำนาจการสั่งการ
- ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ
- สามารถควบคุมตนเองได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

3 ความเชื่อมั่น

- เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
- เชื่อมั่นในความสามารถของผู้อื่น
- เชื่อมั่นในอุปกรณ์และขั้นตอนในการดำเนินงาน

4 ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในทีม

- สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้
- สื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ

5 ทักษะ

- แสดงให้เห็นถึงทักษะส่วนบุคคล
- พัฒนาเทคนิคและปฏิภาณไหวพริบใหม่ ๆ 

6 การฝึกอบรม

- ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานของหน่วยงาน
- ติดตามข่าวสารเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
- ทำความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ภายในสภาพแวดล้อมของตนเอง

7 ความยึดหยุ่น

- ปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
- สามารถปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกในทีมคนอื่น ๆ ได้
- ยอมรับแผนการที่เปลี่ยนแปลงในระยะเวลาอันสั้น

8 ความปลอดภัย

- ให้ความมั่นใจในความปลอดภัยของตนเอง 
- ให้ความมั่นใจในความปลอดภัยของสมาชิกคนอื่น ๆ ในทีม
- สถานที่เกิดเหตุ
- ปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้

9 สภาพร่างกาย

สมาชิกในทีมแต่ละคนต้องแข็งแรง คล่องตัวและอดทนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์ฉุกเฉิน

10 ความรู้ส่วนบุคคล

สมาชิกทุกคนในทีมต้องเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ในเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างถ่องแท้ มีความสามารถในการสนับสนุนมีความรู้เป็นอย่างดีในสถานที่เกิดเหตุและหน้าที่อันหลากหลายที่ต้องปฏิบัติ

11 เหตุการณ์หนึ่ง ๆ มี 3 ระยะ

- ก่อนเกิดเหตุ 
- การปฏิบัติหน้าที่ ณ จุดเกิดเหตุ
- การปฏิบัติหน้าที่หลังเกิดเหตุ

11.1 การปฏิบัติหน้าที่หลังเกิดเหตุ

- ความรู้ในขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- การทำความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ ได้แก่ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผจญเพลิง ระบบต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่กับที่
- การทำความคุ้นเคยกับสถานที่เกิดเหตุและอันตรายที่เกี่ยวข้องให้แน่ใจว่าอุปกรณ์สามารถใช้การได้และจัดเก็บอย่างถูกต้อง ทีมมีโอกาสในการฝึกฝนทักษะของตนเอง

11.2 การปฏิบัติหน้าที่ ณ จุดเกิดเหตุ

- บุคคลและทีมงานสำนึกในหน้าที่ของตนเอง
- สื่อสาร รายงานสถานการณ์และความคืบหน้าให้หัวหน้าทีมรับทราบอยู่เสมอ
- ทำงานด้วยกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน

11.3 หลังเกิดเหตุ

- รายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ เป็นต้น
- เก็บกวาด ตรวจสอบและเก็บอุปกรณ์ในที่จัดเก็บ
- สำรวจความเสียหายของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล
- ซักถามอย่างละเอียด ควรซักถามครอบคลุมถึงเจ้าหน้าที่ทุกคนที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์
- ควรเป็นคนหัวคิดสร้างสรรค์ ระบุถึงสิ่งจำเป็นที่ต้องฝึกอบรม ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานในอนาคตถ้าจำเป็น
- ควรยอมรับในความสำเร็จของทีม

12 การยินยอมปฏิบัติงาน

ผู้ที่ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาเข้าใจคำสั่งนั้นหรือไม่ พวกเขาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับคำสั่ง แต่ควรรู้ว่าเหตุใดจึงได้รับคำสั่งเช่นนั้น

13 การบรรลุเป้าหมาย

การที่คำสั่งจะบรรลุเป้าหมายได้นั้น จะขึ้นอยู่กับบุคคลที่ได้รับข้อมูลนั้นเข้าใจข้อมูลที่ได้รับมาหรือไม่ ที่สำคัญไปกว่านั้นคือสามารถที่จะปฏิบัติให้เป็นผลสำเร็จได้หรือไม่