การหลบภัยสารเคมี Shelter In Place

การหลบภัยสารเคมี Shelter In Place
 

        Shelter In Place (SIP) คือ การหลับภัยในสถานที่ที่ตัวเองอยู่ในขณะนั้น เช่น ในบ้าน ในโรงเรียน หรือในรถ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินจากสารเคมี ซึ่งได้รับการประเมินแล้วว่าสามารถจัดการได้ภายในระยะเวลา 3-4 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น อาจให้คำแนะนำกับประชาชนให้ทำ SIP หากสารเคมีรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ประชาชน ต้องได้รับการฝึกฝน เตรียมอุปกรณ์และเข้าใจวิธีการหลบภัย (SIP) ก่อน

การหลบภัยในบ้าน

        - นำเด็กๆ และสัตว์เลี้ยงเข้าบ้าน
        - ปิดประตู หน้าต่างให้แน่น
        - ปิดมู่ลี่และผ้าม่านที่หน้าต่างด้วย หากมีการแจ้งว่าจะเกิดระเบิด
        - ปิดระบบระบายอากาศทั้งหมด เช่น พัดลม เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความร้อน ฯลฯ
        - นำอุปกรณ์ SIP ไปยังห้องที่ใช้หลบภัยและตรวจสอบว่าวิทยุใช้งานได้
        - ให้นำทุกคนไปยังห้องที่ใช้หลบภัย ซึ่งควรอยู่ในสุดของบ้าน ไม่ม่หรือมีหน้าต่างน้อยที่สุดและให้ปิดประตู
        - ให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าห้องหลบภัยด้วยและเตรียมถุงพลาสติก หรือเศษผ้าชุบนำปิดช่องใต้ประตูใช้แผ่นพลาสติกปิดคลุมหน้าต่าง ใช้เทปกาวปิดช่องระบายอากาศ ปลั๊กไฟ และช่องเปิดต่างๆ
        - โทรติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบและอย่าใช้โทรศัพท์ หากไม่จำเป็น เพื่อให้สายว่างอยู่เสมอจะได้รับการติดต่อจากหน่วยฉุกเฉินภายนอกได้
        - ติดตามข่าวสารทางวิทยุและโทรทัศน์ เพื่อให้ทราบว่าท่านปลอดภัยหรือต้องอพยพออกจากพื้นที่ 

การหลบภัยในรถ 

        - หากอยู่ใกล้อาคารสำนักงานหรืออาคารสาธารณะให้เข้าไปหลบภัยในนั้นแทน
        - หากไม่สามารถหลบภัยในอาคารได้ ให้จอดรถข้างทางในที่ปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะหาได้
        - จอดรถในที่ร่มเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับความร้อนสูง
        - ดับเครื่องยนต์
        -  ปิดประตูและกระจกให้มิดชิด
        - เปิดวิทยุเพื่อรับข่าวสารและคำแนะนำเป็นระยะ
        - ให้อยู่ในที่ๆ ท่านอยู่ จนกว่าจะได้รับแจ้งให้สามารถใช้ถนนได้ ระวังถนนปิดและอาจต้องเปลี่ยนแปลงเส้นทางการเดินทาง และให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของตำรวจจราจรอย่างเคร่งครัด

การหลบภัยในโรงเรียน

        - ปิดโรงเรียนและปฏิบัติตามขั้นตอนของแผนฉุกเฉินในโรงเรียน
        - นำนักเรียน เจ้าหน้าที่ และบุคคลอื่นๆ เข้าไปอยู่ในห้องหลบภัย
        - ห้องที่ใช้หลบภัยควรมีเสียงตามสายของโรงเรียนที่สามารถได้ยินการประกาศจากครูใหญ่และควรมีโทรศัพท์  กล่องอุปกรณ์ SIP และห้องน้ำ
        - ปิดประตู หน้าต่าง และช่องเปิดจากภายนอก
        - ปิดมู่ลี่และผ้าม่านที่หน้าต่างด้วย หากมีการแจ้งว่าจะเกิดระเบิด
        - ปิดระบบระบายอากาศทั้งหมด เช่น พัดลม เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำความร้อน ฯลฯ
        - หากต้องปิดผนึกห้องหลบภัยให้ใช้เทปกาว  แผ่นพลาสติก หรือเศษผ้าชุบน้ำ ปิดช่องใต้ประตู  ใช้แผ่นพลาสติกปิดคลุมหน้าต่าง ใช้เทปกาวปิดช่องระบายอากาศ  ปลั๊กไฟ และช่องเปิดต่างๆ
        - โทรแจ้งผู้ปกครองหรือจัดเจ้าหน้าที่รอรับสายจากผู้ปกครองของนักเรียน เพื่อแจ้งความเคลื่อนไหวภายในที่หลบภัย
        - หากนักเรียนมีโทรศัพท์มือถือ ควรให้นักเรียนโทรกลับไปแจ้งผู้ปกครองว่าปลอดภัยแล้ว เพื่อลดจำนวนสายโทรศัพท์ที่โทรมาจากผู้ปกครอง
        - จดชื่อนักเรียนทุกคนและโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉิน
        - ทุกคนควรอยู่ในห้องจะกระทั่งได้ยินประกาศว่าปลอดภัยหรือต้องอพยพ
        - เมื่อได้ยินประกาศว่าปลอดภัยแล้ว ให้ทุกคนค่อยๆ ทยอยออกมาจากอาคาร และทำตามคำแนะนำพิเศษอื่นๆ จากเจ้าหน้าที่ เพื่อหลีกเลี่ยงการรับสารเคมีภายนออกอาคาร