ในหน้าร้อนใครหลายคนมักจะนึกถึงทะเล หรือการออกไปเที่ยวในสถานที่ต่างๆ แต่ก็อย่าท่องเที่ยวกันจนลืมระวังในเรื่องของการดูแลสุขภาพกันบ้างนะคะ เพราะหน้าร้อนนั้นเป็นที่มาของโรคหลายๆโรค หากไม่ดูแลตัวเองก็อาจถูกโรคร้ายคุกคามได้นะค่ะ และเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตัวเอง ก็มีข้อมูลดีๆเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บที่มาพร้อมกับหน้าร้อนมาบอกต่อกันค่ะ
1. โรคอุจจาระร่วง (Acute Diarrhea)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิที่ปะปนมากับอาหาร และเครื่องดื่ม
อาการ
ในทารกและเด็กเล็กๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสอาจมีไข้ต่ำๆเป็นหวัด ต่อมามีอาการคลื่นไส้อาเจียนและถ่ายอุจจาระเหลวตามมา โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการอยู่นาน 1-6 วัน
วิธีป้องกัน
สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยในการรับ ประทานอาหาร การเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
2. โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)
สาเหตุ
มีสาเหตุมาจากการที่เราได้รับสารพิษของเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร หรือผลิตสารพิษในลำไส้เมื่อเราบริโภคเข้าไป
อาการ
มักเกิดอาการตั้งแต่หนึ่งชั่วโมงจนถึง 8 วันหลังจากรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไปมักจะพบว่าในหมู่คนที่กินอาหารร่วมกันจะมีอาการพร้อมกันหลายคน ซึ่งอาจมีอาการมากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่ละบุคคล และปริมาณที่กิน อาการที่พบคือ คลื่นไส้ อาเจียน ตามด้วยอาการมีไข้ เบื่ออาหาร และอุจจาระร่วง มีตั้งแต่อาการอย่างอ่อนจนถึงรุนแรง อาจถ่ายมีมูกเลือดปนได้
วิธีป้องกัน
สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร การเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
3. โรคอหิวาตกโรค (Cholera)
สาเหตุ
มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย (Vibrio cholerae) เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทานเชื้อจะเข้าไปอยู่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษ ออกมาทำปฏิกิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็ก
อาการ
ถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก มีเนื้ออุจจาระน้อย เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันร่วมกับมีอาการ และอาการแสดงของการขาดน้ำอย่างรวดเร็ว และรุนแรง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ส่วนใหญ่ไม่มีไข้ไม่ปวดท้อง
วิธีป้องกัน
สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยในการรับ ประทานอาหารการเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
4. โรคไข้ไทฟอยด์ (Typhoid)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella Typhi เชื้อนี้จะเจือปนอยู่ในน้ำและอาหาร
อาการ
หลังจากได้รับเชื้อนี้1-2 สัปดาห์ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดอาการเบื่ออาหาร ปวดศีรษะปวดตามตัวมีไข้สูง40.5 องศา มีอาการท้องร่วง บางรายอาจจะมีผื่นขึ้นตามตัว บางรายอาจจะมีอาการแน่นท้อง หากไม่รักษาผู้ป่วยบางรายหายเองได้ใน 3-4 สัปดาห์
วิธีป้องกัน
รับการฉีด วัคซีนป้องกัน ไทฟอยด์ ไข้ Avoid risky foods and drinks. อีกทั้งหลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่มีความเสี่ยง
5. โรคบิด (Dysentery)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดบาซิลลัส นิยมเรียกว่าบิดไม่มีตัว เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชนิดอะมีบยา นิยมเรียกว่าบิดมีตัว
อาการ
บิดไม่มีตัว ช่วงที่อาการยังไม่รุนแรงจะไม่สบายท้อง ถ่ายเหลวเป็นมูกเลือด และปวดบิดแต่ไม่มาก ช่วงที่อาการรุนแรง จะปวดท้องบิดอย่างรุนแรงมีไข้สูง อาเจียน ถ่ายมีมูกเลือดและหนองปน ถ่ายน้อยแต่บ่อยมาก ถ้าร่างกายอ่อนแอมีโอกาสชักได้
บิดมีตัว การติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่ปรากฏอาการแต่อาจเป็นแบบบิดเฉียบพลัน มีไข้สูงหนาวสั่นอุจจาระร่วงมีเลือดหรือมูกปนเลือด หรือมีอาการเล็กน้อย อุจจาระร่วงมีเลือดหรือมูกปนสลับกับอาการท้องผูก เชื้ออาจแพร่กระจายไปตามกระแสโลหิต ทำให้เกิดก้อนฝีที่ตับ ปอด หรือสมอง
วิธีป้องกัน
รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง ดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหารการเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือ หลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
6. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบีส์ ไวรัส (Rabies) ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาหายแต่สามารถป้องกันได้ผู้ป่วยมักคงสภาพอยู่ได้นานไม่เกิน 1 สัปดาห์ และเสียชีวิตเนื่องจากอัมพาตของกล้ามเนื้อ และระบบทางเดินหายใจ ในประเทศไทยยังมีรายงานการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าโดยสาเหตุหลักเกิดขึ้นจาก สุนัข
อาการ
อาการแสดงของโรคมักเป็นการอักเสบสมองและเยื่อสมอง ในระยะ 2-3 วันแรกผู้ป่วยจะปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ คันหรือปวดบริเวณรอยที่ถูกกัดทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้วต่อมาจะหงุดหงิด กระสับกระส่าย ตื่นเต้นไวต่อสิ่งเร้ารอบกาย ไม่ชอบแสง ลม มีน้ำลายไหล กล้ามเนื้อคอกระตุกเกร็งขณะพยายามกลืนอาหารหรือน้ำ ทำให้เกิดอาการ "กลัวน้ำ" ต่อมาจะเริ่ม เพ้อคลั่ง สลับกับอาการสงบ ชัก ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นอัมพาตโดยมีอาการแขนขา อ่อนแรงหมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด เนื่องจากส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมด
วิธีป้องกัน
การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ดีที่สุดคือ ระวังอย่าให้ถูกสุนัขกัดหรือแมวกัด เพราะการติดเชื้อส่วนใหญ่จะมาจากน้ำลายสัตว์ที่เป็น โรคอยู่แล้ว ที่สำคัญที่สุด คือ การเสริมภูมิคุ้มกันในสุนัขซึ่งเป็นสัตว์นำโรคหลัก รวมทั้ง การควบคุมจำนวนสุนัข